1.การปรับค่าความเป็นกรด – ด่าง (ค่าพีเอช)
เกณฑ์มาตรฐาน : 6.5-8.5
ค่าพีเอชเป็นกรด (<6.5) : เติมสารเคมีเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำดิบให้สูงขึ้น เช่น ปูนขาว, โซดาแอช, ผงฟู และโซดาไฟ
ค่าพีเอชเป็นเบส (>8.5) : เติมสารเคมีเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำดิบให้ลดลง เช่น กรดกำมะถัน (กรดซัลฟูริก) กรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก)
2.การปรับคุณภาพทางจุลินทรีย์ (โคลิฟอร์ม)
ผลการตรวจด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย: ผ่าน ไม่พบจุดแดงบนกระดาษ
ไม่ผ่าน พบจุดแดงบนกระดาษ
วิธีแก้ไข : เติมคลอรีน ในน้ำดิบ และขั้นตอนการล้างทำความสะอาดภาชนะบรรจุ เช่น ขวดน้ำ ,กระสอบ โดยต้องมีการตรวจสอบปริมาณคลอรีนคงเหลือในน้ำดิบ อย่างน้อย 0.5 ppm เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
3. ค่า Total Dissolved Solid (TDS)
เกณฑ์มาตรฐาน: ระบบ RO ไม่เกิน 50 ppm
ระบบ Softener ไม่เกิน 500 ppm
วิธีแก้ไข : ค่า TDS บ่งชี้ความสมบูรณ์ของเยื่อกรอง
1) กรณีเยื่อกรองอุดตัน แก้ไขด้วยการล้างย้อน (Back wash)
เป็นการล้างโดยใช้น้ำกรองอัดแรงดันกลับทางไปยังเยื่อกรองเพื่อให้สารที่อยู่บน
ผิวหน้าเพื่อให้สารที่อยู่บนผิวหน้าของเยื่อกรองหลุดออกไป และหมั่นทำความสะอาดเยื่อกรองทุกๆ 6 เดือน
2) กรณีเยื่อกรองฉีกขาด แก้ไขโดยเปลี่ยนเยื่อกรองใหม่