แจ้งเตือนเฝ้าระวังการบริโภคอาหารให้ปลอดภัย

วันที่ 14 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส จัดกิจกรรมประชุมการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร โดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งมีการตรวจสอบยาฆ่าแมลงตกค้าง   ในผักและผลไม้ ทั้งหมด 244 รายการ ตกมาตรฐาน 5 รายการ คิดเป็น ร้อยละ 2.05..และตรวจสารเร่งเนื้อแดง(ซาลบูทามอล) ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ ทั้งหมด 30..รายการ ตกมาตรฐาน 2 รายการ คิดเป็นร้อยละ 6.67

วิธีลดยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้ก่อนนำไปบริโภค

ผักผลไม้ ข้อสังเกตควรเลือกผักที่ใบมีรูพรุนจากการเจาะ     ของแมลง ส่วนการเลือกซื้อผลไม้นั้นต้องดูที่ผิว สด ใหม่ ขั้วหรือก้าน ยังเขียวและแข็ง เปลือกไม่ช้ำหรือดำที่สำคัญหลังการซื้อผักและผลไม้ ควรทำความสะอาดก่อนรับประทานหรือปรุงอาหารเพื่อลดการตกค้างของยาฆ่าแมลง  เช่น  (1) นำผักใส่ตะแกรง เปิดน้ำไหลผ่านโดยเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก ล้างให้ทั่วนานประมาณ 2 นาที      จะช่วยลดปริมาณตกค้างลงร้อยละ 25-65 (2) ใช้น้ำสมสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างลงร้อยละ 60-84

อันตรายจากสารเร่งเนื้อแดง

        สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูทามอล) พบว่าผู้เลี้ยงวัวและหมูมีการนำ    สารชนิดนี้ไปผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เนื้อวัวและหมูมีปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางรายมีอาการเป็นลม มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไธรอยด์ วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจาก     สารเร่งเนื้อแดง คือ ควรเลือกเนื้อที่มีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด เมื่อกดดูเนื้อจะนุ่ม ไม่กระด้าง และเนื้อต้องไม่มีสีแดงผิดปกติ