แจ้งเตือนเฝ้าระวังการบริโภคอาหารให้ปลอดภัย

      วันที่ 5 -7 กรกฎาคม 2566 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส จัดกิจกรรมประชุมการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหารโดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งมีการตรวจสอบสารกันราปนเปื้อนในอาหาร     หมักดอง ทั้งหมด 53 รายการ ตกมาตรฐาน 6 รายการ คิดเป็น ร้อยละ 11.32..และตรวจสารฟอร์มาลินปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ ทั้งหมด 50 รายการ
ตกมาตรฐาน 1 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2 สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี แต่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ จึงห้ามใช้ในอาหาร ผู้ที่กินเข้าไปอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ บางรายเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หรืออาจเป็นผื่นตามผิวหนังลำตัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เลือกกินอาหารที่สดใหม่ การเลือกซื้อ
   -กรณีที่อาหารไม่ได้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ควรดูลักษณะทางกายภาพว่ามีสิ่งเจือปน สีและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยรับประทานหรือไม่ โดยเลือกซื้อ   จากสถานที่จําหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย
    -กรณีที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ควรสังเกตสภาพภายนอกของบรรจุภัณฑ์    ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และมีรายละเอียดบนฉลากอาหารให้ครบถ้วน ที่สำคัญ จะต้องมีการแสดง       เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.          สารฟอร์มาลิน หรือน้ำยาดองศพ ปกติใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ หรือใช้ทางการแพทย์ ซึ่งการนำมาใช้ผิดประเภทโดยเฉพาะกับอาหารทะเลที่เน่าเสียไว เช่น กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก ทำให้อาหารคง    ความสดและเก็บรักษาได้นาน และยังพบในผักสด ผลไม้สด รวมถึงเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
วิธีเลี่ยงอันตรายจากสารฟอร์มาลิน
    -ก่อนนำอาหารสดมาประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาด และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภคเพราะความร้อนจะทำให้ฟอร์มาลินระเหยออกไป
   -การดมกลิ่นจะทำให้ทราบว่าอาหารนั้นมีฟอร์มาลินหรือไม่ ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นแสบจมูกให้สันนิษฐานว่าน่าจะมีฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่